เซวียเป่าไชมีพี่ชายตัวร้ายคือเซวียผาน คนสกุลนี้ดูท่าว่าจะใกล้ชิดกับราชสำนักมากถึงรู้จักของดีๆ จากสยาม ในงานวันเกิดของเซวียผานมีเมนูหนึ่งคือ "ของจิ้มก้องหมูสยามกับปลารมควันไม้สนหอมหลิงไป่" (暹羅國進貢的靈柏香熏的暹羅豬、魚) บ่งบอกว่าของกินนี้ได้มาจากของที่คณะทูตสยามนำมาถวายราชสำนักแล้วคนตระกูลเซวียมีวาสนาได้แบ่งมากินด้วย
หงโหลวเมิ่งเต็มไปด้วยเครือญาติของตังละครชวนให้งงยิ่งกว่าสามก๊ก แต่เราพอจะรู้ว่าคนตระกูลหวางที่เกี่ยวพันกันนั้นดูแลเครื่องราชบรรณาการให้ราชสำนัก จึงไม่ยากที่จะได้หมูสยามมากินกัน
แต่ก็ยังไม่เจอในบัญชีของจิ้มก้องว่าสยามส่งเนื้อหมูมาถวายด้วย อาจเป็นไปได้ว่าถ้ามันมีจริงๆ มันไม่ใช่ของก้อง แต่เป็นของที่ติดสำเภาคณะทูตเพื่อนำไปขายเมืองจีน
หมูสยามนั้นคงจะเนื้ออร่อยมาก ดังในศตวรรษที่ 18 อังกฤษนำหมูสยามไปผสมกับพันธุ์ท้องถิ่นอังกฤษได้ Berkshire Breed พันธุ์นี้ต่อมาญี่ปุ่นนำไปเลี้ยงที่คาโงชิมะกลายเป็นสายพันธูุ์ต่างหากเป็นหมู "คาโงชิมะคุโรบุตะ" นั่นเอง
คุโรบุตะแปล่าหมูดำ หมูสยามที่อังกฤษนำไปผสมข้ามพันธุ์ก็บรรยายกันว่าเนื้อตัวสีดำ บางครั้ง Berkshire ไม่ดำทั่วแต่มีขาวด้วยเพราะอาจผสมกับพันธุ์จีนกวางตุ้ง
คุโรบุตะที่เราคิดว่ามันญี่ปุ่น "แท้ๆ" แท้จริงมีต้นทางมาจากลูกครึ่งไทย-ฝรั่ง (และจีน)
จากหมูกลับมาที่เต่าอีกสักหน่อย
หลังจากอ่านข้อมูลของญี่ปุ่นเขาเสนอว่าไอ้เต่าหกตีนนี้มันเป็นเต่าจริงๆ คือ เต่าหก (Asian forest tortoise) ที่มีอยู่ในป่าบ้านเรานั่นเอง สาเหตุที่เรียกว่าเต่าหกเพราะมันมีเดือยเพิ่มมาทำให้ดูเหมือนขา 6 ขา มันจึงชื่อว่าเต่าหก และคนสยามสมัยก่อนก็คงเรียกเหมือนกันและจีนก็เรียกแบบเดียวกัน
แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปคนลืมไปว่ามันมีเต่าหกอยู่ ทำให้นึกไม่อออกว่า 六足龜 มันคืออะไร
ในหงโหลวเมิ่งเองคนอ่านยังคิดว่า 六足龜 (เต่าหกตีน) คงจะเขียนพลาดไป ควรเป็น 不足龜 (เต่าไม่พอ)
ถามวาเต่าหกตีนเอามาทำอะไร? เดาจากเรื่องหงโหลวเมิ่งน่าจะนำมาทำยานั่นแหละ เพราะบอกสรรพคุณว่ากินแล้วป้องกันโรคระบาด แต่ในตำราซานไห่จิงซึ่งเรียกมันว่า "จูเปียอวี๋" บอกว่ามัน "มีรสเปรี้ยวหวาน" หลวื่อปู้เหวยผู้ทรงอิทธิพลสมัยฉินบอกว่าเนื้ออร่อย
เรื่องบางเรื่องในประวัติศาสตร์ ต่อให้มีบันทึกไว้ แต่ถ้าไม่ดูบริบทและวิเคราะห์ความรู้แวดล้อมก็ทำให้งมในความมืดมนได้ง่ายๆ
เรื่องนี้จะว่าเขียนไปเรื่อยก็ได้ เพราะเป็นการเก็บความรู้มาใส่ตัวไว้
#มิตรสหายท่านหนึ่ง