เวลามีคนจะจ้างทำเว็บให้เหมือน Lazada มันไม่ยากเลยนะ แต่เวลาเค้าบอกว่าอยากทำให้ขายดีแบบ Lazada มันยากมากนะ
เพราะ KPI เค้าโหดมาก และไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ KPI ของทุกทีมในนั้น แม้แต่ตัวผู้บริหารสูงสุดอย่าง ริค ก็ไม่ได้รู้ KPI ของทาง WH ครบทุกตัวในตอนนี้ แม้ช่วงเริ่มต้นบริษัท ริค จะเป็นถึง MD ฝ่าย WH มาก่อน .... จะแข่งอะไรกับใครก็ต้องทำ engine ออกมาให้ดีเท่ากันหรือดีกว่าคู่แข่ง ... นั่นแหละคือ KPI หลายๆ KPI รวมกันคือองค์ประกอบของ engine ที่ยอดเยี่ยมที่สุดในธุรกิจ การที่บริษัทของเราต้องตั้ง KPI ไว้สูงกว่าคู่แข่งเสมอ แปลว่าเราพร้อมแข่งกับคนอื่นเสมอ
ตอนทำ Lazada เราเลยต้องตั้งทุกๆ KPI ให้สูงกว่าเว็บ eCommerce ที่มีอยู่เดิมในตลาด ตอนทำ CDiscount เราก็ต้องตั้ง KPI ให้สูงกว่า Lazada
พนักงานหลายคนไม่เข้าใจว่าทำไมต้องตั้ง KPI แล้ว KPI มันช่วยอะไรให้ดีขึ้น ส่วนมากจะมองภาพง่ายๆว่าอยากได้ตัวเลข KPI เพิ่ม ก็เพิ่มคน หรือ ไม่ก็ปรับปรุงระบบ ไม่งั้นก็อัพเกรดอุปกรณ์ แต่ไม่ได้มองการปรับปรุงการทำงานหรือทัศนคติตัวเอง เพราะเจอหน้าจอเดิมๆ เจอคนข้างๆทำงานแบบเดิมๆ ... Lean / Kaizen เลยกำเนิดมาบนปัญหานี้ ให้เราเปลี่ยนแนวคิด แนวการแก้ไข บนเครื่องไม้ เครื่องมือเดิม เพิ่มให้ผลลัพธ์ดีขึ้น ถ้าลองปรับแล้วดีจนถึงที่สุด ค่อยวนกลับไปเพิ่มคนถ้าต้องการ KPI ที่มากขึ้น
พอได้ KPI ที่มีระดับสูงมากจนคู่แข่งยากจะตามทัน เราถึงค่อยมาทำ cost optimized นั่นคือสูตรสำเร็จที่ Google ทำมาก่อน แล้ว Facebook ก็ลอกตามมา สุดท้ายก็กลายเป็นวัฒนธรรมที่หลายๆ Startup ทำกันอยู่ ... ไปดู Financial Plan เหล่า Startup เกิดใหม่ได้เลยช่วง 3 ปีแรกมีแต่ cost structure ใช้เงิน กับ หาเงิน ไม่มี cost optimized อยู่ใน financial sheet เลย และถ้าทำพลาดหรือเงินหมดก่อนก็จบ แต่ถ้า KPI ยังดีอยู่ก็จะมีอัดฉีดเงินเรื่อยๆ แต่ถ้า KPI ไม่ดีดั่งเดิม ก็ยากจะหานายทุนมาอัดฉีดเงิน
เวลาใครถามว่าได้ข่าว Lazada ยังขาดทุน แต่ก็มีกระแสข่าวเรื่อยๆว่าได้เงินลงทุนเพิ่ม นั่นแหละครับ เฉลยคือ KPI และ วัฒนธรรมนี้มีสูงมากในหมู่ชาวเยอรมัน การทำ KPI ให้สูงที่สุดเท่าที่จะสูงได้ เพื่อพัฒนาอะไรก็ตามแต่ขึ้นมาให้คนทั่วไปใช้