พูดตรงๆ กูว่าการทับศัพท์มันก็ต้องมีลิมิต มันก็มีประโยชน์ในการสร้างบรรยากาศจีนๆ เช่นสรรพนามการเรียก กูพอรับไหวเพราะกูอ่านมามากจนจำได้หมดแล้ว ชื่อคน สถานที่ มันก็จีนมากแล้วนะ บางอันมันดีเทลไปก็เพลาๆลงหน่อย ตำแหน่งขุนนางบางอัน แปลไปเลยก็ได้
ในห่านฟ้า เดี๋ยวเรียกตำแหน่งพ่อคำจีนทับศัพท์ เดี๋ยวก็แปลไทยเต็ม เอาไงกันแน่
มู้บนๆมีการพูดถึงการแปลอิงต้นทางและคำนิยม ซึ่งมันนิยมจนกลายเป็นภาษาประจำวันของเราไง ถ้าการแปลมันสร้างคำใหม่ๆจนเป็นที่นิยมกัน ทุกคนเข้าใจ มันต้องใช้เวลาพักนึงเลยนะที่จะให้มันกลายเป็นคำนิยม
การทับศัทพ์จีนๆนี่ เขาอาจนิยมแล้วในสายนักอ่าน ดังนั้นกูว่าถ้านิยมจริงไม่ต้องวงเล็บแล้วล่ะ หรือกำลังสอนภาษาจีนกูอยู่ เช่น ป้ายถีซือ(ผู้บัญชาการ)
กูอาจต้องอ่านอีกสิบเล่มเพื่อนิยมมันให้ได้ (ต่อไปกูอาจหงุดหงิดปะวะว่า ทำไมต้องแปลว่าป้ายบัญชาการ เรียกป้ายถีซือสิวะ )
เทียบกับ การแปลฝรั่ง he visits thailand in summer
เขามาเที่ยวไทยแลนด์ตอนซัมเมอร์ หรือ เขามาเที่ยวประเทศไทยในหน้าร้อน หรือ เขามาเที่ยวเมืองไทยตอนซัมเมอร์
สามแบบนี้ก็ต่างกันละ ทับซัมเมอร์กูว่าไหว แต่เราจะใช้ไทยแลนด์ตอนแปลเป็นไทยมั้ย
หรือถ้าฝรั่งเรียก japan เราจะแปลไทยว่าเจแปนมั้ย หรือเลือกคำว่าญี่ปุ่น ที่เป็นคำนิยมเพื่อแปลให้มันลื่นไหลดี