สดใสแปลจากอังกฤษ
Last posted
Total of 270 posts
สดใสแปลจากอังกฤษ
>>70 Hesse เฮสเซ คืออ่านแบบภาษาอังกฤษ ส่วน เฮสเซอ อ่านแบบเยอรมัน ซึ่งตัวเฮสเซ (เราอ่านแบบนี้) ก็เป็นคนเยอรมัน ควรอ่านแบบเยอรมันละนะ ส่วนเรื่องแปล เราอ่านเทียบกับฉบับอังกฤษ ก็ไม่มีอะไรพลาดจนบิดเนื้อความอะ เทียบกับต้นฉบับทำไม่ได้ เพราะไม่รู้เยอรมัน อ้อ แล้วอาจารย์สดใสแปลจากอังกฤษนะ ไม่ใช่เยอรมัน ส่วนตัวเราไม่มีปัญหาตรงนี้เท่าไหร่ แต่ก็แอบเคืองที่สนพไม่ค่อยแปะบอกที่หนังสือ
ในหนังอมริกันยังเรียกเฮสเซอเลย
มีแต่คนไทยที่อ่านเฮสเส
>>75 อ๋อกูเก็ตละ ใช่ จริงๆต้องอ่านแบบเยอรว่าเฮสเส่อะ แบบสำเนียงเป๊ะๆเลยนะ สำเนียงกลางแบบบาวาเรีย แต่บางถิ่นเยอรเขาก็เรียกเฮสเส ทีนี่เรื่องเฮสเสนี่ กูไม่มายที่จะอ่านแบบนี้ เพราะว่ามันเป็นชื่อที่โดนเอามาทับภาษาไทยเรียบร้อยแล้ว อย่างคนรัสเซียชื่อ ดิมิทรี งี้ ถ้าจะใช้หลักว่าต้องสะกดเฮสเสอแบบที่โทรลบอก ก็ต้องเขียนว่า ดมิตตริ นีทเช่ก็คงต้องเป็นนีตเฉ่อะ ราชบัณฑิตอนุโลมให้ใช้ดิมิทรีได้ เฮสเสก็เช่นกัน ส่วนฝรั่งอังกฤษมันก็เรียกเฮสเซออะไรไปตามสำเนียงมัน เพราะเขาไม่ได้มีวรรณยุกต์ตัวสระอะไรที่ทำให้อ่านยาก+ไม่สวยถ้าถอดตามเสียงเป๊ะ ๆ แบบของไทยเรา กูคิดเห็นงี้นะ
ปอลอ เพิ่งรู้ว่าสดใสแปลจากอิง แต่ก็รู้สึกแปลตรงไปตรงมาดีนะ เข้าใจง่ายดี
บอกบุน Oliver Twist ของดิกเกน ฉบับแปลไทย อ. สนิทวงศ์ (น่าจะเป็นฉบับ abridged) โหลดฟรีที่ meb
แถวนี้อ่านแต่เฮสเส่อะฮะ งานของคนอื่นไม่ต้องมาแนะนำ
เดี๋ยวนี้การศึกษาเขาไม่สอนวรรณกรรมคลาสสิคนานาชาติเเล้วเหรอวะ สมัยก่อนยังได้อ่านทอมซอวเยอร์ ฮัคฟิน บ้านเล็ก etc. เดี๋ยวนี้เด็กไม่รู้จักเเล้ว
นาร์เนีย กูไม่เคยรู้เลยว่าแฝงเรื่องศาสนาไว้เยอะขนาดนั้น
รู้แต่จบได้แบบ.......
อีกเรื่องที่กูชอบ บ้านเล็กในป่าใหญ่ ชอบทั้งเซตเลย
ดีงามมาก ว่าแต่ร.ร. สมัยนี้ยังบังคับหนังสืออ่านนอกเวลาไหมวะ
ไม่เคยได้เรียนอะ พูดถึงบ้านเล็ก นึกถึงหนังสือ laura ingalls wilder a writer's life ในหนังสือพูดถึงส่วนที่ไม่จริงในนิยายชุดนี้ จำรายละเอียดปลีกย่อยไม่ได้ละ แต่คร่าวๆก็ว่าตัวลอร่าไม่ได้เขียนเรื่องจริงหมดอะ มันเคยมีบทสัมภาษณ์ของลอร่าเองที่ก็พูดด้วยว่าหนังสือชุดนี้ ชั้นเขียนเรื่องจริงนะแต่ไม่ใช่ทั้งหมด ประมาณนี้
เออๆ เรื่องที่จำได้แม่นคือในหนังสือไม่ได้พูดถึงน้องชายเลยใช่มะ แต่ในชีวิตจริง ลอร่ามีน้องชาย แต่น้องตายตอนยังเด็กมากๆ ไม่ถึงขวบเลยมั้ง เขาก็วิจารณ์กันว่าตกลงนี่ควรนับเป็น autobiography หรือเปล่า (เพราะลอร่าเคลมว่าใช่ ในความจริงแล้วเธอเขียนชีวิตตัวเองแบบปรุงแต่งน้อยมากด้วย แต่ไม่ฮิต มาฮิตกับซีรีส์นี้) เพราะมันมีการตัดแต่งออกไปอยู่ไรงี้
เหมือนเรื่องบ้านเล็ก ส่วนที่ไม่จริงคือ ชีวิตจริงไม่ได้ชอบพระเอกแต่แรก ชอบเพื่อนตัวเองน่ะ เพื่อนเคยเล่ามาจริงมั้ยวะ แต่ชอบเรื่องนี้เวลาบรรยายของกินกับชีวิตในเรื่องว่ะ 555
ส่วนนาร์เนียพอรู้ว่าเทียบอะไรบ้าง แต่ในนี้ละเอียดขึ้นมาอีกขอบคุณมาก ตอนอ่านครั้งแรก กูโคตรสงสารซูซาน ยังคิดเลยคนเขียนใจร้ายว่ะ.......และตอนจบเป็นอะไรที่เงิบมาก ตอนทุกคนมาเจอกัน เจอพ่อแม่ด้วย คือเอาแบบนี้เลยเรอะ
นาเนียร์จบไงวะ ชักอยากรู้แล้วสิ
แบบมันมีช่วงเวลาที่กระโดดๆอยู่
เค้าคงข้ามเรืองของน้องชายไปเลยละมั้ง
>>92 >>92 เวลาผ่านไปหลายพันปีหลังจากเหตุการณ์ในเล่มเก้าอี้ มีลิงไปเจอหนังสิงโตแล้วใช้เอามาคุ้มให้ลาแกล้งเป็นอัลสาน แล้วหลอกกษัตริย์ปล่อยให้พวกทางใต้บุกนาร์เนีย พวกคนที่เคยมานาร์เนียกลับมาช่วยหมด ยกเว้นซูซาน แต่โลกก็แตก คนที่เหลือรอดหนีไปยังโรงนา อัลสานโผล่มาพาไปนาร์เนียที่แท้จริง ที่ทุกคนที่เชื่อในอัลสานยังมีชีวิตและความสุข แต่คนที่ไม่เชื่อก็จะไม่มีความสุขหรือไม่ได้ที่นี่ เพราะพวกพระเอกก็เผยว่าตายในเหตุการณ์รถไฟชนกันหมด
>>96 ให้ตีความง่ายๆคือผู้คนนับถือfalse gods + พวกมุสลิมเอาพระเจ้าตัวเองมามอมเมา จนท้ายที่สุดก็ถึงเวลาสิ้นโลกที่พระเจ้าจะรับเหล่าผู้ศรัทธาไปอยู่ด้วย ฉากในโรงนา มันสื่อถึงสวรรค์มาก ๆ ละก็ จริงๆตอนต้นเล่มทุกคนนั้นทุกคนนั่งอยู่ในรถไฟจะไปหาปู่ย่า ยกเว้นซูซานที่อยากไปปาร์ตี้( นี่งะ คนบาป) ละจุ่ๆรถไฟชนแรงมาก งงๆแล้วก็มาตื่นที่นาร์เนีย ส่วนตัวกูว่าเล่มนี้นัยยะแรงเว่อ
บอกบุญจ้า เทพนิยายออสการ์ ไวลด์ แปลโดย อ. สนิทวงศ์ โหลดฟรีที่ meb
ปกติเวลาจะหารีวิวนี่ใช้เว็บรีวิวไหนบ้างอะ goodreads นี่พอใช้ได้ไหม
>>64 อยากอวยอาจารย์ถนอมนวลกับอาจารย์อำภามาก แต่เอาเป็นว่าวันศุกร์ที่ 16 มิถุนา อาจารย์ถนอมนวลมีบรรยาย (ปาฐกถา) เรื่องคาฟก้าที่อักษรฯจุฬาฯนะ เข้าร่วมได้ไม่เสียเงิน ของภาควรรณคดีเปรียบเทียบก็น่าสนใจเหมือนกัน เป็นภาคที่มีของ เป็นภาคที่สามารถปล่อยพลังได้
(วาร์ป: https://www.facebook.com/aksarapiwat/photos/a.100526833815025.1073741828.100378453829863/100566717144370/?type=3&theater) ไม่ได้ค่าโฆษณาจริงๆ5555 แต่เป็นติ่งอาจารย์ อยากให้มีคนได้ฟังอาจารย์ตอนบรรยายหรือเวลาสอนเยอะๆ
ของอาจารย์ถนอมนวลนี่หลักๆจะเป็นคาฟก้า แต่ยืนยันจริงๆว่าถ้าเห็นชื่ออาจารย์คือมั่นใจได้ว่ามันจะเป็นงานแปลที่ดี ส่วนอาจารย์อำภาจะเป็นวรรณกรรมเด็กๆอ่าน/นิทาน แต่มีเล่มที่รวบรวมเรื่องสั้นเยอรมันมาแปลหนึ่งเล่ม (เรื่องสั้นเยอรมันสำหรับนักศึกษา ปกสีฟ้าๆ) เล่มนี้ก็โอเคเหมือนกัน นอกจากนี้ก็จะมีอาจารย์อารตี จำไม่ได้ว่าอาจารย์แปลอะไรบ้าง แต่ที่ซื้อมาก็มี โธมัส มันน์ (มาริโอกับนักมายากล) นี่คือเท่าที่รู้ว่าแปลตรงจากภาษาเยอรมันแน่ๆ และก็เป็นอาจารย์ที่สอนวิชาสายวรรณกรรมเยอรมันด้วย
>>90 บ้านเล็กนี่ชอบ สนุก แต่ถ้าถามว่าเป็น autobiography หรือเปล่า มันก็ยังไม่ใช่ขนาดนั้น5555 คือเป็นหนังสือที่ได้ความรู้เพิ่มนอกจากความบันเทิง แต่มันก็ไม่ใช่ความรู้แบบ fact เน้นๆ มันเหมือนแสดงให้เราเห็นมุมมอง ความคิดของคนในยุคนั้นต่อสิ่งต่างๆมากกว่า เช่นมุมมองของตัวลอร่าเอง ต่อชนพื้นเมืองอเมริกันบ้างอะไรบ้าง หรือเรื่องเนลลี่นี่ก็รู้สึกจะเอาคนมารวมกันตั้งสามสี่คน5555 มันมีประโยชน์ในแง่หนึ่ง แต่ก็นั่นแหละ ป้าลอร่าเองก็มโนอะไรเอาซะมาก
>>105 64 เองนะ ชอบอาจารย์มากกก ดีใจแบบมากๆๆๆๆ ที่ไลบรารี่เฮาส์ทำรวมเรื่องสั้นคาฟกา ปกสวยอีก รักๆๆ เสียดายไม่มีโอกาสเรียนกับแก (พูดแล้วจะร้องไห้) งานน่าสนใจ ขอบคุณที่แวะมาบอกข่าวจ้า/ ส่วนของอาจารย์อำภา ยังไม่มีโอกาสได้อ่านงานแปลแกเลยอ่า เรื่องสั้นเยอรมันที่ว่านี่ยังมีอยู่ปะ เคยหาแล้วไม่เจอ มันพิมพ์ใหม่หรือยังน่ะ/ มาริโอฯนี่ซื้อไว้ยังอ่านไม่จบเลย555
btw งานหนังสือนี้มีงานคลาสสิกออกมาพอสมควรอยู่นะ ไว้ใกล้ๆวันงานจะรวบรวมแปะลง (โฆษณาให้สนพเลยด้วย ไปอุดหนุนกันเยอะๆเขาจะได้มีทุนทำเล่มต่อไป ฮาาา)
ไม่รู้ว่าถามตรงนี้ถูกหรือเปล่า สนใจเล่มนี้ ใครพอรู้ข้อมูลมั้ยว่าเล่มนี้โอเคหรือเปล่า
เนินนางวีนัส | Delta of Venus
อนาอิส นิน เขียน
รังสิมา ตันสกุล แปล
https://www.facebook.com/libraryhousebangkok/photos/a.1818224058502530.1073741852.1411003912557882/1823097758015160/?type=3
>>106 ไหนมาให้กอดทีนึงสิ Y_Y จริงๆพวกเราอาจอยู่ใกล้กันกว่าที่คิดก็ได้นะ5555 และมาริโอยังอ่านไม่จบเหมือนกัน555555 ปกติอ่านเบาสมองกว่านี้ เจอมาริโอคือชะงัก นั่งทำใจ ค่อยๆพลิกอ่านทีละหน้า แต่รวมเรื่องสั้นเยอรมันนี่ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะพิมพ์อีกหรือเปล่า เพราะที่ซื้อมาเป็นเพราะต้องซื้อมาเรียนกับอาจารย์ *ถรึ่ง ตอนนั้นซื้อกันทั้งเอกเพราะเป็นวิชาบังคับ จริงๆถ้าอยู่เอกนี้ ลองถามพวกรหัส 55 ขึ้นไปอาจมีคนอยากส่งต่อก็ได้นะ
อาจารย์ถนอมนวลนี่มีโอกาสเรียนด้วยแบบ ฟลุคจริงๆ เป็นประสบการณ์ที่ดีมาก Y_Y ถึงจะไม่ได้เรียนกับอาจารย์อีกแล้ว เพราะอาจารย์น่าจะสอนแค่ระดับป.เอกแล้ว ซึ่งเราไม่เรียน5555 ตอนนั้นอาจารย์สอนวรรณกรรมหลังสงครามโลก แค่เรียนคอร์สเดียวก็รู้แล้วว่าอาจารย์คือของจริง รัก ตอนนี้ก็ใช้ชีวิตแบบติ่งๆ รอเข้าฟังเวลาอาจารย์จัดบรรยาย เก็บหนังสืออาจารย์ไป ฮือ แต่อาจารย์เป็นคนน่ารักมาก ถ้าพบอาจารย์สามารถเดินเข้าไปสวัสดีอาจารย์และพูดความติ่งใส่อาจารย์ได้<3
อนึ่ง งานแปลของอาจารย์อำภาที่ยัง (น่าจะ) มีขาย คิดว่าน่าจะเป็น "เด็กดื้อ ชื่อว่า ชะตรูฟเฟลเพเทอร์" กับ "บีเดอร์มันด์และนักวางเพลิง และ นักฟิสิกส์" สองเล่มนี้นะ เหมือนศูนย์หนังสือธรรมศาสตร์จะมีขายออนไลน์อยู่ แล้วก็ "รวมเรื่องสั้นภาษาเยอรมัน" ของสำนักพิมพ์วงกลมที่มีนักแปลหลายๆคนแปลด้วยกัน จะมีเรื่องนึงที่อ.แปลอยู่ในนั้นด้วย
>>110 กอดกันๆๆ *โอบ* ดีใจเจอคนคอเดียวกัน เอาจริงๆคนรอบตัวเราไม่ค่อยมีใครอ่านงานแนวนี้เท่าไหร่555 คืออ่านนะ แต่ไม่จริงจัง ไม่คลั่งและติ่งอาจารย์หรือผู้แปลเป็นจริงเป็นจังอย่างเราน่ะ อาจารย์อีกคนที่เราอยากเรียนด้วยมากๆๆๆ คืออาจารย์วัลยา วิวัฒน์ศร ชอบงานอาจารย์ทุกเล่มเลยยยย เสียดายที่ไปพิมพ์กับผีเสื้อซะเยอะ (บ.ก.แอ็คอาร์ตของผีเสื้อมีกรณีกะอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องค่าตอบแทนด้วยแหละ อ่านแล้วหมดศรัทธากับสนพนี้ แบบว่าไม่อยากอุดหนุนเลย แต่ก็นะ งานดีๆอยู่ที่นี่ก็เยอะอะ ฮืออ/ ถ้าอยากรู้ จะรวบรวมมาให้) แล้วก็อาจารย์ภาสุรี ลือสกุล อาจารย์แกแปลบทกวีของ pablo neruda (แนะนำๆๆๆ แกเขียนบทกวีรักได้หวานหยดจริง อ่านแล้วใจพอง เรารักเนรูด้ามากกก เรียกว่าเทิดทูนเลยดีกว่า555)
ได้อ่านความเปลี่ยวดายฯ ของฮราบัล ที่อาจารย์วริตา แปลหรือยัง? ดีมากนะ เราดีใจมากที่มีคนเอาวรรณกรรมประเทศอื่นมาแปลบ้าง งานของเช็คดีๆมีแยะ แต่ไม่รู้ทำไมในไทยไม่ค่อยพูดถึงกัน (มีคนอ่านน้อยมั้ง) พูดถึงอาจารย์วริตา น่าเสียดายที่แกไม่รับงานแปล orlando ของวูล์ฟ มั่นใจมากว่าอจจะแปลและถ่ายทอดน้ำเสียงของวูล์ฟได้ดีมากแน่ แต่ก็นะ งานวูล์ฟมันหนัก ต้องใช้พลังงานเยอะ และ might take one's souls to แปลออกมาให้ครบและสมบูรณ์ด้วยละนะ
จริงๆตอนนี้เราเชียร์ให้คนเอางาน austen มาแปลให้ครบๆอยู่ ไม่รู้จะมีสนพไหนสนมั้ย เราว่างานเจนมันอ่านสนุกมากๆๆๆ แบบไม่ต้องคิดมากก็สนุก พูดละอยากจะแปลเองพิมพ์เองเลยเนี่ย555 รักหล่อนมาก (people who read jane austen are 100% cool! 5555)
>>111 เพิ่มๆๆ อาจารย์สดใสด้วยยย เรารักแกมากกกก ฮือออ ปลื้มใจ ตอนซื้อสิทธารถะได้ลายเซ็นแกด้วยละ ปลื้มมั่ก ヾ(o✪‿✪o)シ แล้วก็อาจารย์นพพมาส แววหงส์ ดีใจที่แกแปลงานของเชคสเปียร์ ถึงเราจะไม่ชอบตานี่ แต่ก็เป็นนิมิตรอันดีที่งานชิ้นเอกได้เผยแพร่ในภาคภาษาไทย เสียดายที่ทั้งสองท่านอยู่ภาคการละคร (ซึ่งเราไม่ได้เรียน) อย่างอาจารย์สดใสก็ทำแฟนคลับใจฟูได้เรื่อยๆ เพราะมีผลงานตลอด ส่วนอจนพมาสก็มีคอลัมน์บ้างอะไรบ้าง ล่าสุดก็ the museum of innocence ของปามุก (พิมพ์กับมติชน) ดีเนอะ เวลานักแปลระดับอาจารย์มีผลงานใหม่ๆออกมา เดี๋ยวนี้นักแปลสายคลาสสิกดีๆมีไม่มาก ส่วนใหญ่ก็รุ่นอาจารย์ทั้งนั้น อยากให้มีมาเพิ่มอีกเยอะๆจังนะ... เห้อ
ถ้ามีงานแปลเยอรมันเรื่องไหนแนะนํากูบ้างนะ
กูเคยอ่านแค่คาฟคาอ่ะ ไม่ค่อยเจอคนอ่านงานเยอรมันเลย
ส่วนมากงานแปลเยอรมันในบ้านเราแปลจากเยอรมันเลยมั่ยอ่ะ
>>114 becoming jane มันหนังชีวประวัติเจน ออสเตนป่ะ ส่วนหนัง p&p เวอร์ชั่นเคียร่า เราไม่เคยดู แต่เวอร์ชั่นซีรีส์ bbc จะทำออกมาตรงหนังสือมากกว่า เห็นเค้าว่างั้นนะ
เอาจริงงานของออสเตน ถ้าเทียบกับนิยายปัจจุบัน พล็อตมันธรรมดามากนะ ถ้าจะอ่าน อ่านเอาสำนวนอย่างเดียวพอแล้ว สำนวนกับวิธีการเล่าของออสเตนอ่านสนุก คำแนะนำคืออ่านไปซักสามสี่บท ถ้าไม่ชอบก็วางไปเลย ถ้าชอบก็ลุยต่อแล้วก็ไม่ต้องสนพล็อตมากนัก
เพิ่มเติม เราอ่านเจน ออสเตนที่มีแปลมาแล้ว เรารู้สึกว่าไปอ่านอังกฤษดีกว่า เราอ่านไทยแล้วปวดหัวจี๊ด ๆ เหมือนต้องแปลไทยเป็นไทยอีกที
>>113 ก็แล้วแต่คนแปลนะ เอาจริงๆมีนักแปลที่แปลตรงจากเยอรมันไม่กี่คนหรอก แต่อย่างของเลเจนด์ เล่มที่เกี่ยวกับฮิตเลอร์ ชื่อ (ถ้าจำไม่ผิด) กลับมาแล้วครับ นี่คิดว่าแปลจากอังกฤษ แล้วก็มีของสันสกฤตอีกเล่ม ชื่อ เดียวดายในเบอร์ลิน อันนี้น่าจะแปลจากเยอรมัน
>>114 becoming jane เป็นหนังประวัติออสเตนตามที่ >>115 ว่าเลยจ้า ส่วนหนัง p&p 2005 ก็สนุกดี แต่ซีรีส์ของบีบีซีเนื้อหาตรงตามต้นฉบับมากกว่า
>>115 ใช่ๆ พล็อตธรรมดา รักๆใคร่ๆ ละครมาก แต่ชอบอ่า v__v เราชอบการเขียนของออสเตนด้วยแหละ เป็นคนเขียนร้อยแก้วได้กระชับ ฉับๆๆ แต่ให้ภาพชัดเจน มีอารมณ์ขัน แบบว่าล้อตัวละครในเรื่องไปมา มีลีลา อืม จะใช้คำว่า เจนเป็นคนที่ witty ก็คงได้ เอ่อ อธิบายไม่ถูกน่ะ แต่เป็นว่าถ้าใครรำคาญความรุ่มร่ามของพล็อต ยังไงก็ยังศึกษาวิธีการเขียนของเจนได้อยู่ (well, วูล์ฟเองก็ชมเจนนะ อิๆ ขออวยหน่อย) ส่วนเรื่องการแปล ก็เป็นจริงอย่างที่ว่า อาจารย์จูเลียตแกแปลไว้เมื่อนานนนนนนมาแล้วน่ะ ภาษาออกโบราณ ศัพท์แสงไม่คุ้นหู รูปประโยคก็ใช้ความซ้อนเสียมาก (เขาเรียกความซ้อนใช่มะ) สารภาพว่ารอบแรกเราอ่านอย่างมึนๆก็ตามไม่ค่อยทัน555 อ่านแล้วต้องค่อยๆถอดความภาษาไทยอีกที
เห็นคุยเรื่องเจนกัน เพื่อนโม่งแนะนำงานของเจนให้หน่อยได้มั้ย นี่เคยอ่านแค่ p&p เอง อยากอ่านอย่างอื่นด้วย
Sense&sensibility นี่โอเคมั้ย แล้วมีเรื่องไหนของเจนที่น่าอ่านอีกอะ
ของเจนขอแนะนำ the catcher in the rye
>>121 (ทำไมใช้คำว่า อะนะ ตั้งสองครั้ง ฮือ ถ้าอ่านแล้วรำคาญก็ขอโทษด้วย T-T) เพิ่มๆๆ เราว่า emma เนี่ยพล็อตสนุกกว่า p&p อีก แต่เราชอบตัวละครจากเรื่องหลังมากกว่า อย่างตัวเอกชายก็น่าจดจำมากทั้งคุณคอลลิน มิสเตอร์ดาร์ซี <3 ยังเงี้ย แต่ในเอมม่า เราชอบแค่ตัวเอมม่า ส่วนตัวละครอื่นนี่เฉยๆ รู้สึกว่าเจนสร้างตัวละครในไพรด์ได้ออกมามีสีสันมากกว่าน่ะ แต่ก็อย่างที่พิมพ์ไป เอมม่าพล็อตสนุกมาก อ่านเพลิน
แนะนำ Emma เช่นกัน ชอบคาแรกเตอร์นางเอก
S&S นี่ก็อ่านได้ แต่จะไม่รู้สึกว่าคาแรกเตอร์ตัวเอกสตรองเท่าตัวเอก P&P
Northanger Abbey ประหลาดไปหน่อย แต่เห็นว่าเขียนมา parody นิยายแนวโกธิคยุคเดียวกัน (งานของ Ann Radcliffe นักเขียนที่ดังมากในยุคนั้นแต่เงียบในยุคสมัยใหม่)
ตอนนี้เราขาด mansfields park กับ persuasion อยู่ แต่มีหนังสือที่บ้านละ ยังไม่ว่างพอเก็บให้ครบ T^T
เราโม่งที่ถามเรื่องเจนนะ
ขอบคุณเพื่อนโม่งที่แนะนำมาก เดี๋ยวจะไปหา Emma อ่านดู
เรื่อง persuasion ทำไมถึงคิดว่าไม่สนุกเหรอ พอเล่าย่อๆ หน่อยได้ไหมเพื่อนโม่ง
>>126 https://sheradia.wordpress.com/2012/09/17/captain-wenworths-letter/#more-901 ลองอ่านบล็อกนี้ดูนะ
เตือนภัยสังคม the sense of an ending (ณ ที่สิ้นสุดของบางสิ่ง) ตม แปล เปลี่ยนปกแล้ว แต่!!! ระวังๆๆๆไว้ให้ดี แปลผิดค่อนข้างเยอะ ไม่มีฉบับแปลไทยกับตัว (ทิ้งไปแล้ว) เลยไม่ได้เขียนชี้เป็นจุดๆ
หนังสือกลวงๆ
รีวิวเว็บนี้มันกากอ่ะ ส่วนใหญ่ top review ก็หน้าเดิมๆอาศัยเพื่อนเยอะช่วยกดไลค์
>>133 goodreads ตามที่ >>134 ว่าเลยจ้า เราไม่เคยเจอคนเขียนถึงงานเจนในไทยเยอะนะ (อาจเป็นเพราะไม่เจอเองด้วยละ) ถ้าไม่ติดเรื่อง printed หรือ e-book จะโหลดมาอ่านก็ได้นะ มีเยอะแยะ ถ้าพวก tpb ถูกๆ อย่างของคอลลินส์ (มีที่บูทดวงกมลสมัย) ตัวหนังสือเล็กมาก อ่านยาก กระดาษยุ่ยง่าย (ไม่รู้ว่าเขาเรียกกระดาษอะไร) ของเพนกวินก็โอเค ลองหาดูที่บูท asiabook นะ
ความเดือดดาลในกระแสเสียง
จะเป็นผู้คอยรับไว้ไม่ให้ใครร่วงหล่น (The Catcher in the Rye)
มุ่งสู่ประภาคาร (To The Lighthouse)
วัยเยาว์อันสิ้นสูญ
โลลิต้า
เพื่อนโม่งช่วยให้คะแนนเรียงจาก 1-5 ให้หน่อยสิ 1 คือไม่ชอบเลย 5 ชอบมาก
คือพอดีเราทำลิสจะซื้อในงานหนังสือ แต่งบมีจำกัด แถมไปลองอ่านรีวิวมามันก็น่าสนใจหมดเลย
เลยอยากถามความเห็นเพื่อนโม่งดูจะได้เอามาตัดสินใจถูก
>>139 ที่ว่ามา คนละแนวเลยนะ เราคงเปรียบเทียบความชอบไม่ได้ แต่เราลองรีวิวคร่าวๆแบบนี้แล้วกัน
ความเดือดดาล: คิดว่าเล่มนี้อ่านยากพอสมควร ในบรรดางานของโฟลคเนอร์ คิดว่าถ้าผ่านเล่มนี้ได้น่าจะสนุกกับงานอื่นของเขาได้มากขึ้น btw เรายังอ่านไม่จบ เรื่องสำนวนแปล ก็ใช้ได้อยู่
จะคอยรับไว้: ถ้าคนรำคาญความงุ่มง่ามและ grumpy ของตัวเอกก็จะไม่ชอบ เราชอบนะ แต่พอมาอ่านในสมัยนี้ก็ไม่ได้อินความขบถอะไรต่างๆที่คนเขียนเขียน เปลี่ยนปกใหม่ สวยดี สำนวนแปลก็โอเค
มุ่งสู่ประภาคาร: สำนวนเขียนดีมากๆๆๆๆ เราชอบวูล์ฟก็จากเรื่องนี้ แปลไทยไม่แย่ แต่เหมือนขาดอะไรไป ไม่รู้สิ อ่านเอาสารัตถะเรื่องก็ไหวอยู่ แต่ถ้าจะเอาน้ำเสียงของวูล์ฟ ซึ่งไหลลื่นมาก และคนแปลไทยยังถอดไม่ได้ตามความคาดหวังของเรา อ่านฉบับอังกฤษด้วยก็ดี
วัยเยาว์: เฉยๆ ลองอ่านแปลไทยผ่านๆก็ไม่ค่อชอบสำนวน เล่มนี้หายากแล้วนะ ยังไม่เห็นว่าพิมพ์เพิ่มเลย
lolita: แปลไทยให้กลางๆ อ่านแก้ขัดไปได้ ฉบับอังกฤษอาจจะน่ารำคาญสำหรับคนที่ไม่ชอบอะไรเยิ่นเย้อ ไม่ใช่นิยายที่ลื่นมากๆ แตโดยรวมก็ดี มีความหนัง road movie ด้วยในช่วงหลัง
>>143 จะคอยรับไว้,โลลิต้า เปลี่ยนปก (แค่ปก) ทั้งสองเรื่องเลย http://readery.co/9786168053027 http://readery.co/9786168053034 นี่นะ แปะลิงก์ไว้ให้/ มุ่งสู่ประภาคาร ถ้าอ่านอังกฤษแข็ง ก็อ่านอังกฤษดีกว่านะ เรื่องแปลนี่พูดยากจัง จะว่าใช้ได้ก็ใช่ จะว่าไม่ถูกใจก็ใช่อีก 555 คือเราคาดหวังสูงด้วยน่ะ ก็ต้องบอกว่า คนแปลก็ทำหน้าที่ตัวเองได้ดีที่สุดแล้วแหละ งานวูล์ฟแปลยากถึงยากมากๆ ทำได้แค่นี้ก็ถือว่าผ่านอยู่นะ ส่วนฉบับภาษาอังกฤษ ถ้าเน้นอ่าน ของคอลลินส์ก็โออยู่ แต่อย่างทีเคยพิมพ์ไป ตัวหนังสือมันเล็ก เรื่องกระดาษอีก ถ้าไม่ใช่คนจุกจิกกับเรื่องแบบนี้ และอยากได้ฉบับราคาถูกๆหน่อยก็แนะนำคอลลินส์ ส่วนงานวูล์ฟมันเป็นงาน public domain แล้ว (เหมือนงานของเจน ที่เราแนะนำให้โหลดใน >>138) มันมีพิมพ์หลายเจ้ามาก ปกสวยๆหน่อยก็อาจจะแพง แต่ฉบับที่เราว่าสวยและราคาน่าคบหาก็อย่าง vintage woolf series ที่ได้คนจาก mariemekko มาทำปกให้ สีสวยดี คนชอบแบรนด์นี้อยู่แล้วก็น่าเก็บนะ (ลองดูปกเล่มดัลโลเวย์ที่ https://thailand.kinokuniya.com/bw/9781784870867) ส่วนเพนกวินนี่ก็พิมพ์หลายซีรีส์มาก little black ก็มี หรือ คลาสสิก ปกติ (ที่ปกสีๆ แถบคาดขาวอะ) ก็มี เลือกตามชอบนะ
สวัสดีครับ
ต่อไปนี้ผมจะมาแนะนำวรรณกรรมคลาสสิคที่โม่งควรอ่านก่อนแล้วไปตายซะให้วันละเล่มนะครับ
เมื่อครบ 100 เล่มแล้วผมจะเลิกเล่นโม่งทันที ติดตามรับชมได้ช่องทางนี้นะครับ
พวกมึง สนพ ผีเสื้อ มาออกบูธที่งานหนังสือป่ะวะ
อยากได้เรื่องฟาเรนไฮน์ 451 แต่ทำไมหนังสือมันหมดทุกเว็บเลย
กลายเป็นของแรร์ตั้งแต่เมื่อไหร่กัน
ใครเคยอ่านเกมลูกแก้วบ้าง
มันอ่านยากป่ะวะ
งั้นคงดองต่อไป 555
งานหนังสือนี้มีรวมเรื่องสั้นของฟิตซ์เจอรัลด์ด้วย ของสมมติ ในเล่มมี babylon revisited (หนึ่งในเรื่องสั้นของฟจรที่ดีมากๆ อยากให้อ่านกัน) เรื่องที่เหลือไม่รู้ว่ามีอะไรบ้าง
https://www.facebook.com/sommadhibooks.page/photos/a.472576809477714.1073741828.176034669131931/1294282280640492/?type=3
The alchemist ถ้ามันเหี้ยขนาดนั้นแล้วทำไมมันดังจังวะ ใครเคยอ่านบ้าง
มึง เรื่องmetamorphosisของคาฟคานี่ตอนนี้มีสนพ.ไหนพิมพ์ใหม่บ้างมั้ย? เหมือนกูจะเคยเห็นคนแนะนำว่าอย่าซื้ออันที่เป็นรวมเล่มเรื่องสั้นเยอรมัน
กากทั้งหมดแหละ
>>155 อ่านแล้วชอบ ถ้ามีความรู้เกี่ยวกับคริสต์ไบแซนไทน์จะยิ่งเข้าใจฉากหลัง ตอนอ่านฉากจบทำอึ้งว่าจะให้จบแบบนี้จริงๆ เหรอ แล้วทั้งเรื่องก็ยังจำได้แต่ฉากจบกับการใช้คำ "นายแห่ง"
>>160 The Alchemist ของ Paulo Coelho? ถ้าใช่ เป็นเรื่องที่ดีนะ ได้อ่านช่วงที่กำลังเคว้งพอดีมันทำให้กลับมาย้อนคิดอะไรหลายๆ เรื่องของตัวเองแล้วเริ่มกล้าค้นหาฝันตัวเองใหม่อีกรอบ การเดินเรื่องเหมือนเทพนิยายผจญภัยที่อิงความเป็นจริงมันมีนัยในเรื่องทุกเหตุการณ์แล้วมีการอ้างอิงศาสนาเป็นบ้างจังหวะด้วย อ่านอื่นของคนนี้ก็โอเคแต่ไม่พีคเท่า The Alchemist แนวงานคนนี้ชอบชี้ไปมุมมองตรงข้ามกับมุมมองที่ปกตินึกถึงกันโดยเฉพาะเรื่องเซ็กส์ที่เขาเขียนไม่เข้าใจนิยามและพฤติกรรมตัวละครเลยว่าทำแบบนั้นคิดแบบนั้นได้ไง
กระทู้นี้นี่กูชอบช่วงต้นๆสุดละ
แวะมารีวิว
1. ของฝากจากทะเล (openbooks)-- เคยมีแปลแล้ว สำนวนของวนินทร สนพ.ผีเสื้อ เก่าพอสมควร-- เป็นบันทึกของแอนน์ ลินด์เบิร์ก ควรอ่านอย่างละเลียดใคร่ครวญไปพร้อมกับคนเขียน ในเล่มว่าด้วยความคิดของผู้หญิงคนหนึ่งที่มีรัก-- และไม่ยอมให้รักมาบงการชีวิตด้านอื่นของเธอ ผู้หญิงที่โอนอ่อนต่อสภาวะบวกลบทั้งหลาย บางครั้งสับสน บางครั้งมั่นใจ มีเวลาที่อ่อนไหว และเวลาที่แน่วแน่ในความต้องการของตัวเอง โดยรวมเป็นหนังสือที่หมดจดงดงามมาก ไม่ใช่ถ้อยคำหวือหวา เรียบง่าย แต่จับใจ ส่วนตัวติดสำนวนเก่านิดหน่อย แต่สำนวนนี้ก็ใช้ได้ ปกสวย รูปเล่มงาม ควรค่าแก่การซื้อ
2. เนินนางวีนัส (library house) เป็นหนังสือ erotica ชอบความป่วยจิตอย่างละมุนละไมในเรื่อง มันวิปริต ป่วยไข้ และนุ่มนวลมากๆ อ่านแล้วหวามอะ สำนวนแปลโอเค แต่ตัวหนังสือเล็กจัง หรือสายตาไม่ดีเองก็ไม่รู้555
3. แว่นตากรอบทอง (อ่านอิตาลี) ควรค่าแก่การอ่าน เล่มเล็ก บางๆ อ่านไม่นานก็จบ แนะนำมาก
4. บนดวงจันทร์ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ (merry-go-round) ตลกร้าย dark humour ดี หนังสือรสแปลก อธิบายไม่ถูก แต่สนุก อ่านแล้วติดและชอบเลยละ
ช่วยแนะนำเรื่องแนวๆ1984 หรือ animal farm หน่อย
Slaughter house 5 แปลโดยเทพนพดล
อะไรก็ได้ที่นพดลไม่ได้แปล
ทู้เงียบไปนานเลยแฮะ แวะมาส่งข่าวหนังสือใหม่
http://readery.co/9789740209058
สามทหารเสือ สำนวนแปลอาจารย์วัลยา เปิดจองแล้ว รูปเล่มดูสวยงามมาก ลองดูๆ
ใครที่สนใจ วิมานลอย (gone with the wind) ของแสงดาว พิจารณาดีๆ เจอประโยคผิด (ชนิดคนละความหมายกับต้นฉบับ) แล้ว 1 ประโยค
My dear, I don't give a damn> ที่รัก ฉันไม่สนเลยซักนิด แต่แสงดาวใช้ "ฉันไม่ได้กำลังด่าเธอดอกนะจ๊ะ" กำลังหาฉบับพิมพ์ก่อนๆมาเทียบอยู่ ว่าผิดที่บรรณาธิการ (ส่วนตัวเชื่อว่าผิดที่แสงดาว) หรือนักแปล เรื่องนี้พิมพ์มาแล้วหลายครั้ง ถ้ามันผิดขนาดนี้ ก็แปลกอยู่ว่าทำไมถึงไม่มีคนติง แต่ก็เป็นไปได้ว่าบรรณาธิการของฉบับพิมพ์อื่นเขาแก้ให้ ไม่รู้ว่าตกลงยังไง แต่ก็ระวังกันด้วย หนังสือราคาเกือบพัน ไม่สมควรปล่อยให้หลุดขนาดนี้เลย
นิยายเรื่องไหนที่นพดลแปล กูจะตัดออกอันดับแรก
โลลิต้า ถ้ามึงอังกฤษแข็งอ่านอังกฤษเถอะมึง ความสละสลวยของภาษามันมากกว่าไทยนัก หรือถ้าแอดวานซ์ไปอีก ก็อ่านรัสเซียไปเลย 55555555555555555555
อ่านอังกฤษเลย เพราะโลลิต้าเขียนเป็นอังกฤษก่อน คนเขียนค่อยแปลเป็นรัสเซียเองจ้า
กูเคยอ่านแต่โลลิต้าฉบับแปลเก่า ที่หน้าปกสีเขียวอะ ใครเคยอ่านทั้งสองฉบับมั่ง เล่าหน่อยว่าอันไหนดีกว่า
ลองย้อนไปอ่านช่วงต้นกระทู้ดิ
>>184 ยังไม่เคยอ่านพิมพ์อื่นนะ ที่ปดหแปล เราว่ามันไม่ถึงกับดี แต่ การแปลงานจากภาษาหนึ่งสู่อีกภาษาหนึ่ง มันไม่สามารถเก็บทุกอย่างได้อยู่แล้ว โดยเฉพาะลูกเล่นทางภาษา (บางอย่าง หรือ หลายๆอย่าง) ตัวนักแปลเองก็บอกในคำนำอยู่ว่าไม่สามารถเก็บรายละเอียดงานแปลชิ้นนี้ได้อย่างครบถ้วน เพราะมันยาก เราเข้าใจว่ามันยาก และจริงแล้วก็ไม่ชอบการใช้ภาษาของปดหมาแต่ไหนแต่ไร (ที่เขาได้ซีไรต์นี่เราก็รู้สึกสงสัยมาตลอดว่าทำไมถึงได้นะ) เลยเชียร์เล่มนี้ไม่ได้ ขอโทษด้วยถ้าที่เขียนมานี้ไม่ค่อยช่วยอะไรได้นัก ถ้าสนใจจะอ่าน ขอสนับสนุนให้อ่านภาษาอังกฤษ
เมื่อก่อนเราเชียร์ให้คนเอางานคลาสสิกมาแปลไทยเยอะๆ แต่พักหลัง พอได้เห็นว่างานแปลคลาสสิกเกือบทั้งหมดผ่านมือนักแปลแค่ไม่กี่คน หน้าเดิมๆ สำนวนเดิมๆ ก็รู้สึกว่าอย่าดีกว่า วัฒนธรรมนักแปลเซเลปแบบนี้ น่าเบื่อ และมีแต่จะทำลายวงวรรณกรรม
>>169 เนินนางวีนัส ตอนเรารีวิวไม่ได้พูดถึงสำนวนแปล ไปเจอบล็อกนี้มา เอามาแปะด้วย เผื่อจะช่วยใครตัดสินใจได้ง่ายขึ้น http://minimore.com/b/lPSq7/2
หลังๆมานี้งานแปลคลาสสิคกลับมาคึกคัก
แต่คนแปลนี่หาดีแทบไม่ได้
วรรณกรรมคลาสสิคเดี๋ยวนี้หน้าปกมินิมอลมากเกินไป กูว่ามันไม่มีเสน่ห์เลย
เพื่อนโม่ง คุณวัลยา วิวัฒน์ศรมีแปลดาร์ตาญังกับสามทหารเสือ หนังสือกำลังเปิดพรีออเดอร์ล่ะ ปกแข็งด้วย
https://mobile.twitter.com/Ballitter/status/897661990121984000
กูโคตรอึ้งในยุคที่ทำเว็บสั่งซื้อได้ง่ายๆ ยังมีจะซื้อต้องส่งไปรษณีไปนี้มัน.....
ขนลุกซู่เบย กัวลุง
>>193 ไม่ได้ชอบบกผีเสื้อ แต่เคสนี้เราว่าว่าเขาก็ไม่ได้เสียเต็มปาก เพราะถ้าทางฟบ สนพก็รับสั่งอยู่ (โดยไม่ต้องส่งไปรษณีย์ตามในเว็บว่า) ส่วนตัวเว็บนั่นคงไม่ได้อัพเดทละมัง และเอาจริง เขาคงไม่คิดจะทำ e-commerce ดีๆ ปรับหน้าเว็บให้กดสั่งซื้อได้แน่ แอนตี้เทคโนโลยีซะขนาดนั้น (จริงๆที่เริ่มมารับออเดอร์ผ่านฟบเพราะเปิดพรีออเดอร์หนังสือปกแข็ง ไหนๆก็แล้วเลยเปิดสั่งเล่มอื่นของสนพด้วยเลย)
>>195 เคยสั่งซื้อทางเว็บสนพ.นะ ก็ใช้วิธีเหมือนซื้อจากเว็บทั่วไป แต่ก็หลายปีแล้ว แต่บอกตรงๆ เห็นที่เขียนตอบเรื่องสั่งทางไปรษณีย์ เป็นใครก็ขี้เกียจส่งว่ะ อย่างกะส่งจดหมายไปขอรูปดาราแบบวัยรุ่นยุคเอทตี้ส์งั้นอ่ะ
มีโม่งบอกว่าลุงผีรู้ภาษาอังกฤษกับภาษาไทย แล้วถ้าเราแปลงานภาษาอื่นที่ไม่ใช่อังกฤษไปเค้าจะตรวจงานได้เหรอ
กูเพิ่งมาเจอห้องนี้ขอแสดงความคิดเห็นบ้าง กูออกตัวก่อนว่ากูอ่านอิงค์ดังนั้นเรื่องคุณภาพงานแปลกูไม่มีความเห็น
นาร์เนีย เป็นเรื่องที่กูชอบมากอ่านเล่มแรกๆได้ฟีลนิทานเด็กเล่มจบหักจบเป็นพลาโต้ ในมุมมองกูนี่จบลงล๊อกเดียวกับ โลกของโซฟี กับ ริงค์เล่มจบ (ริงค์ซาดาโกะนั้นแหละ เล่มจบถ้ากูจำไม่ผิดคือลูป)
เจน ออสติน กูไม่แนวงานเขียนนางหว่ะ กู้เป็นสาวกพี่น้องบรองค์เต้ แต่กูมีงานนางเกือบครบนะ มีคนเปรียบเทียบไว้โดนใจกูมากว่างานเจนคือ สวนอังกฤษที่มีระเบียบสงยงามแบบผู้ดี ในขณะที่งานของพี่น้องบรองค์เตคือทุ่งมัวร์ทางตอนเหนือที่มีต้นฮีเทอร์ขึ้นรกร้างวังเวง คลาสสิคที่กูอ่านเล่มแรกคือ เจน แอร์ อ่านไปเปิดดิกไปกว่าจะจบ หลังจากนั้นกูก้อไปตามล่างานของพี่น้องนางมาครบเซต ไปตามหา Wild Sargasso Sea ที่เขียนในมุมมองของเมียแรกของโรเชสเตอร์มาอ่านด้วย
Gone with the wind ขึ้นหิ้งกูอีกเรื่องนึง แนะนำให้ไปหาอ่านภาคต่อของนางชื่อ Scarlett ที่ Alexandra Ripley เขียนมาอ่านต่อ เขียนดีอยู่จบได้แบบไม่คาใจ
เทอเคยอ่าน villette ป้ะ
กูชอบ คุณพ่อขายาว ที่สุด
สรุปว่าเนินนางนั้นเสียดายเงินมากค้าาาา เพิ่งอ่านจบ แบบว่าเพลียสำนวนแปล
นิยายอีโรติกมาเสือกไรกระทู้คลาสสิควะ
คลาสสิคมันคลุมหมดไม่ว่าจะอีโรติกหรือไม่อีโรติกป่าววะ
@207 แปลแบบตล๊กตลกค้าาา เราว่ามันเลี่ยนๆ แบบที่ว่า คล้ายดูละครช่องเจ็ดอะ
พวกนักอ่านจากเด็กดี อะไรที่เป็นวัตถุดิบในการติ้วหีได้มันเรียกคลาสสิคหมดแหละ
ไม่ได้แปล "ดี" แต่แปลแล้วคนอ่านทั่วไปอ่านง่ายก็น่าจะโอเคแล้วมั้ง
กูมองว่าแปลดีคือการแปลโดยเคารพต้นฉบับและนักเขียนเจ้าของผลงานว่ะ ไม่ใช่มาใส่พริก กะปิ น้ำปลามั่วซั่ว แต่คนอ่านส่วนใหญ่จะชอบงานที่อ่านแล้วอินเข้าใจง่ายได้อารมณ์มากกว่าหรือเปล่า ไม่งั้นมันคงไม่มีการที่นักแปลแปลออกมาแล้วบก.ไปอิดิทใส่กะปิน้ำปลา ปรับสำนวน แก้บางจุด
สำหรับกูการเคารพต้นฉบับคือการแปลแล้วเก็บความหมายที่ต้นทางต้องการสื่อได้ครบ เรื่องสำนานวิลิศมาหราอะไรไม่สนใจเท่าไหร่ ขอแค่เหมาะกับเรื่องก็พอ เพราะอันที่จริงเรื่องแปลไม่ควรมี "สำนวนคนแปล" ด้วยซ้ำ
การแปลดีของมึงเนี่ย ถ้าสมมุติเขาเขียนมาแค่ "I will go to him now" ในเซ็ตติ้งยุค 80 ไหนลองเสนอมาซิว่าพวกมึงจะแปลออกมากันแบบไปน
งานแปลออกมา ยังไงก็มีคนติงได้ตลอดอยู่แล้ว พวกนี้ นอกจากเรื่องแปลผิด (แบบผิดความหมายไปเลย) ก็เป็นเรื่องจริตรสของแต่ละคนแล้วละ
อยากจะเชิญชวนเพื่อนๆมาเข้า Discord เซิร์ฟนี้กันนะคะ :3
ตอนนี้แอดมินกำลังตามหาคนมาคุยเรื่องหนังสือและวรรณกรรมด้วยกันอยู่จ้า
https://discord.gg/BBmhNhD
ผมอ่านแต่วรรณกรรมชั้นสูงและชอบดูถูกคนอ่านวรรณกรรมชั้นต่ำ ผมคงเข้าแก๊งไม่ได้อ่ะครับ
สูงต่ำนี่วัดยังไง ความสูงของชั้นหนังสือ?
อย่างงี้เดอะไวท์โร้ดที่ด่ากันเยอะๆก็ผิดที่รสนิยมผู้อ่านเองสินะ
หนังสือไม่มีดีไม่มีห่วย อยู่ที่รสนิยม กร๊ากๆๆๆๆๆ
แจ็คหม่า บอก
แปลกมากพวก IQ สูง แต่ EQ กลับต่ำ
https://www.facebook.com/thaiaseanpanorama/videos/2001679913384280/
Go set a watchman เป็นวรรณกรรมคลาสสิคมั้ย ไม่รู้จะถามห้องไหน
มีใครอ่านแล้วบ้าง ขอถามเรื่องเหตุผลของการกระทำของแอคติคัสกับเฮนรี่หน่อย
>>228 สปอยล์
.
.
.
.
.
.
.
ประมาณนั้น แอคติคัสไปเข้าร่วมกลุ่มฝั่งเหยียดผิวอะคือในหนังสือบรรยายว่า บางทีคนเราก็ต้องทำอะไรที่ไม่ได้อยากจะทำ
คือเหมือนหนังสือพยายามชี้ให้เห็นว่า แอคติคัสไม่ใช่ฮีโร่ เป็นคนธรรมดาอ่ะ
แต่คือกูอยากรู้ว่าทำไมถึงเป็นงั้น กูอ่านแล้วแบบไม่ค่อยเกตในการให้เหตุผลของแอคติคัสเท่าไหร่
.
.
.
.
.
.
>>228 .
.
.
.
.
.
แอคติคัส ไปเข้ากับกลุ่มเหยียดผิด ( แต่ตัวเองไม่ได้เหยียดผิวนะ ) เพราะความคิดว่ายังไงก็ต้านกระแสนี้ไม่อยู่ และคิดว่าเมืองนี้ยังไม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง เข้ากลุ่มไปเพื่อควบคุมไม่ให้คนในกลุ่มนี้กระทำอะไรรุนแรงเกิน....จึงเข้าไปอยู่ในกลุ่มแกนนำ แต่ไม่ได้เป็นหัวหน้า
อีกส่วนก็เพื่อให้นางเอก เปลี่ยนมุมมองพ่อตัวเอง ให้มองเห็นในความเป็นปุถุชนด้วย
.
.
.
.
.
>>228 เอาจริงๆ กุไม่อยากนับเรื่องนี้เป็น canon เลย เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เขียนก่อนto kill the mocking bird แต่โดยสนพตีกลับมา หลัง to killดังแล้ว นักเขียนก็ไม่ได้ตั้งใจจะให้ตีพิมพ์ออกมาด้วย พวกจัดการมรดกเขาต่างหากที่ไปค้นมาตีพิมพ์หลังเขาเสีย
ทำไมเจมต้องตายด้วยวะ โฮวววว
>>233 ไม่เป็นไรเพื่อน กูถามมาขนาดนี้แปลว่ากูอยากได้สปอยล่ะ555 แต่เรื่องนี้รู้สึกว่าฮาร์เปอร์พิมพ์ออกมาก่อนตายนะ แบบก่อนตายแปปเดียว แต่ที่มึงพูดก็เป็นไปได้อะ ว่าญาติๆอาจเห็นนางจะไม่ไหว เลยส่งให้ตีพิมพ์แทนนางไปเลย
เด่วกูคงหามาอ่านนะ เท่าที่อ่านมาก็รู้สึกว่าแอคติคัสมัยดูเป็นปุถุชนคนขี้เหม็น ไม่ได้เป็นฮีโร่ๆแบบที่สเก๊าท์มันมองพ่อมันขนาดนั้น
กูขอถามอีกอย่าง สเก๊าท์มันยังเรียกพ่อว่าแอคติคัสอยู่ปะวะ5555 ตอนกูดูหนังแรกๆกูหลุดขำเลย เพราะถ้าอยู่ไทยนี่ล้อจนสนุกแน่
ยังคุยกันในดิสคอร์ดอยู่ไหม ส่วนใหญ่คุยกันไรบ้างอะ อยากจอยด้วยแต่เพิ่งมาเริ่มอ่านคลาสสิค กลัวคุยไม่รู้เรื่องT^T
กุอยากจะอ่านงานของ Isaac Asimov แต่อยากจะเริ่มจากเรื่องที่ดีที่สุดของเค้าก่อน เพื่อนโม่งมีไรมาแนะนำมั้ยอะ แล้วอะซิมอฟนี่นับว่าคลาสสิคมั้ยวะ 5555
ถ้าเอาตามที่กูเคยอ่าน เริ่มจาก ไอ โรบอท ชุดอิลิจา แบเล่ย์ แล้วค่อยไปชุดฟาวเดชั่น มันจะไล่ไทม์ไลน์ต่อเนื่องกัน ไบเซนเทเนี่ยล แมนอาจนับว่ามาก่อนไอ โรบอทมั้ง ไม่เคยอ่าน ไม่แน่ใจ
ไบแซนเทเนียลกูเคยแต่ดูหนัง กูรู้สึกดีใจที่ได้เกิดมนุษย์มาก555
เพื่อนโม่ง มีใครเคยอ่าน the sun and her flowersมั้ย รีวิวหน่อยยย
แวบมาปัดฝุ่นกทหน่อย อาชญากรรมและการลงทัณฑ์ สำนวนแปลใหม่ พิมพ์โดยทับหนังสือ สองเล่มปกแข็ง มีกล่องใส่สวยงาม เปิดพรีอยู่เน้อ สนใจลองดูๆ https://www.facebook.com/501887839931528/photos/a.501901719930140.1073741828.501887839931528/1817325751721057/?type=3
แปลจากรัสเซียหรือป่าว
แปลอังกฤษเหมือนเดิมนี่หว่า แล้วจะแปลใหม่ทำไมวะ
แปลหนังสือแบบนี้เค้าได้เงินต่อเล่มเท่าไหร่วะ
นักแปลจากภาษาต้นฉบับมันดูหายากจัง ขนาดมุราคามิยังต้องแปลจากอังกฤษเลย
เดี๋ยวนี้ใช้กุเกิ้ลแปลกันหมดแล้ว
ช่วยรีวิว mobydick ฉบับแปลไทยหน่อยครับ อ่านน่าเบื่อไหม แล้วเล่าเรื่องไสตล์ไหน
ใครเคยอ่านSilence(ศรัทธาไม่เงียบ)บ้างเป็นไง ควรเจียดเวลาและเจียดเงินซื้อหามาอ่านไหม
https://www.cnet.com/news/netflix-is-making-chronicles-of-narnia-into-new-series-movies/
Netflix จะขุดนาร์เนียมาทำซีรี่ส์ เริ่มกลัวละว่าเล่มหลังๆจะออกมายังไง
เพื่อนๆครับ ในนี้มีใครอ่านวรรณกรรมแปลของสำนักพิมพ์ สมิต 2005 มั้ย
กุมี list หนังสือที่อยากอ่านที่สำนักพิมพ์นี้แปลไว้อยู่หลายเล่ม แต่กุเห็นกระดาษที่ใช้แล้วยังไม่มั่นใจ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา กุห่วงเรื่องสำนวนการแปลหวะ
อยากถามว่าหนังสือสำนักพิมพ์นี้ควรค่าแก่การซื้อมาอ่านมั้ย
อมิมอลฟาร์มแบบแปลไทย เห็นว่ามีหลายคนแปลงานแปลของแต่ละคนเป็นยังไงบ้าง
ถ้ากูจะคุย lord of the rings เล่มที่สอง กูต้องไปตั้งมู้ใหท่ป่าววะ
เทสๆๆๆ
เทสๆๆๆๆ
🏩
💌
💑
💓
💔
💕
💖
💗
💘
💙
💚
💛
💜
💝
💞
💟
กูมีไซอิ๋วฉบับที่แปลโดยวิวัฒน์ ประชาเรืองวิทย์ ทำไมมันอ่านเข้าใจยากจังวะ
รึว่ากูโง่เอง อ่านไม่รู้เรื่องเลย
Topic has reached inactivity threshold.
Please start a new topic.
Be Civil — "Be curious, not judgemental"
All contents are responsibility of its posters.