>>469 ก็ใช่ว่าไม่ได้หรือไม่มีตัวอย่าง
จีนสมัยฮั่นอู่ตี้มีศัตรูของชาติคือพวกซงหนู พระองค์เลยใช้ทรัพยากรที่สั่งสมมาหลายสิบปีและเวลาทั้งรัชสมัยปราบซงหนู สรุปคือปราบได้จนพวกนั้นหนีไปตียุโรปกระเจิง ดังนั้นมาตราการศัตรูร่วมจึงเป็นสิ่งที่ได้ผลดีมาก ถ้ามีการจัดการที่ดี
ส่วนแผนการของมนตราคือการสร้างมหากิลด์แห่งโลกขึ้นมาชี้นำ ตามหลักกวินทำได้อยู่แล้ว แต่ปัญหาคือเกมส์มันอัพทวีปมหาสงครามมาทันที ดังนั้นโลกจึงใหญ่ขึ้น 5 เท่า เซิร์ฟเอเชียต่อให้รวมกันได้ก็แค่ 1/5 แต่เป็น 1/5 ที่แข็งแกร่งที่สุด
ดังนั้นแผนการบุกโลกใหม่ก็ทำได้ไม่ยาก ถ้าถึงเวลาสงครามแล้วเซิร์ฟเอเชียทีกิลด์เดียวปกครองทั้งหมด ทวีปอื่นไม่มีทางสู้ได้ ด้วย economic of scale ถึงจุดหนึ่งมหากิลด์แห่งเซิร์เอเชียจะกลืนกิลด์ทั้งหมดเอง ต่อให้ยังมีกิลด์อื่นเหลือแต่ขนาดก็จะต่างกันมากจนไม่ส่งผลใดๆ ยกเว้นมีศิลาคนที่ 2 โผล่ออกมานั่นละ
จริงๆ แผนของมนตราก็ใช่ว่าจะไม่เคยมีคนทำ สมัยเจงกิสข่านก็แบบนี้ ปกครองจักรวรรดิด้วยกฎหมายเดียว pax - Mongolia คือยุคสันติสุขที่สุดยุคหนึ่งของประวัติวัติศาสตร์ การค้าภายในก็เจริญรุ่งเรือง วิทยาศาสตร์ก็ก้าวกระโดดจากการแลกเปลี่ยนความรู้ตามทฤษฎีปัญญาสะสม คือเมื่อมีความรู้ถึงจุดหนึ่งมันจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเป็นทวีคูณตามจำนวนความรู้และคนที่มีความรู้
ดังนั้นแผนการของมนตราจึงทำได้จริง และส่งผลดีอย่างมาก ส่วนสงบสุขได้กี่ปีก็ได้เท่านั้น โลกนี้ไม่มีอะไรตลอดกาลหรอก แค่ทำให้นานที่สุดได้ก็พอแล้ว แผนของศิลาก็ใช่ว่าไม่ดี มันดีในฐานะตัวเกมส์ แต่ในโลกจริงๆ มันต้องใช้แผนแบบมนตรา เหมือนการพัฒนาจากชนเผ่าสู่รัฐชาติ ความก้าวหน้าคือการทำให้ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ รวมกลุ่มแนวตั้งและแนวนอน ขยายไปเรื่อยๆ การแตกเป็นกลุ่มอำนาจย่อยแบบศิลาไม่ตรงกับการพัฒนาการของรัฐเท่าไหร่ แต่ตรงกับระบบค่านพรรคมาเฟีย ระดับจึงต่ำกว่ามนตราหลายขั้น แต่ว่าในเกมส์ ระบอบของศิลาเหมาะสมกว่า