>>690 ป่าวที่กูเถียงคือ สาเหตุของการไพรซิ่งที่สูงของ LN กูคิดว่าเหตุหลักของมันคือตลาดแคบน่ะ
กูว่าจะไม่พิมพ์แล้วนะ เดี๋ยวจะหาว่ากูสอนหนังสือสังฆราช แต่เพื่อเผื่อแผ่กลุ่มโอตาคุอายุน้อยที่อาจไม่เข้าจุยแล้วจะมาซุยอย่างเดียวกูจะร่ายให้เผื่อนึกออก
สมมุตินะว่า สนพ.XX ต้องการขาย LN เรื่อง A เล่มที่1 (มี200หน้า) ให้ได้กำไร 1,000,000 บาท
โดยมีค่าใช้ต้นทุนดังนี้แยกเป็นต้นทุนคงที่และแปรผัน
ต้นทุนคงที่
ค่าไลเซน 200,000 บาท
ค่าจ้างแปล หน้าละ 200 บาท มี 200 หน้า คือ 40,000 บาท
(สมมติว่าค่า2ค่านี้ไม่ได้ทำสัญญาแบบรายได้ส่วนแบ่งจากจำนวนพิมพ์ถ้ามีสัญญาแบบนั้นจะไปโผล่ในรายการต้นทุนแปรผันอีก 2 ข้อ)
ค่าเงินเดือนพนักงาน บก./ตรวจอักษร ไม่ต้องคิดถือเป็นเงินเดือน/ค่าใช้จ่ายดำเนินการของ สนพ. อาจจะคิดก็ได้ถ้าให้เป็นเบี้ยเลี้ยงหรือค่าคอม/เล่มที่ทำงาน
ทีนี้เป็นค่าต้นทุนแปรผัน
ค่าลอจิสติก คิดเป็น % ตีว่า 40% ของราคาขายตามที่โม่งข้างบนอ้างถึง
ค่ากระดาษพิมพ์+ค่าพิมพ์ ให้ 50บาท/เล่ม
คราวนี้ลองหา sum ดู
ต้นทุนคงที่ = 240,000 บาท
ต้นทุนแปรผัน = 50 บาท/เล่ม + 40%
ถ้ามึงจะขายให้ได้กำไรตามเป้า
กรณี ราคาตั้งไว้ 200 บาท ต้องขายประมาณ 17,715 เล่ม
แต่ถ้ามึงขาย 100 บาท ก็ต้องขายให้ได้ 100,000 เล่ม
จะเห็นได้ว่า ราคาเพิ่มขึ้น 2 เท่าแต่จำนวนยอดที่ต้องขายได้ต่างกันมากถึง 5.64 เท่า
และแน่นอนว่าต้นทุนแปรผันนั้นอาจมีการเจรจาลดลงได้หากจำนวนผลิตนั้นมากพอแต่ขอไม่พูดถึงเพราะยุ่งป่าวๆนี่แค่เรื่องสมมติ
ซึ่งการจะไพรซิ่งแน่นอนว่าต้องมีการวิจัยกลุ่มลูกค้าก่อนว่ากำลังซื้อมีขนาดไหน และจำนวนพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อราคาที่สูงขึ้นยังไง กรณีว่าต่อให้เพิ่มราคาไปมากๆลูกค้ากลุ่มนี้ก็ยังซื้อก็จะเป็นช่องทางให้ฟันหัวแบะได้อีก ซึ่งเป็นเรื่องปกติของธุรกิจ
ตัวเลขของกูนี่กูมั่วเองนะมึงอย่ามาซุยว่าไม่ใช่เลขจริงอีกกูสมมติอีเว้นท์เฉยๆ