พออ่านที่พวกมึงแจงมาเรื่องอาเฉิง พอมานึกดีๆ แล้วทำให้กูนึกถึงการ์ตูนเรื่องตราบวันฟ้าใสมากเลยมึง พ่อแม่ น้องสาวของตัวเอกตายเพราะอุบัติเหตุ แล้วเพื่อนสนิทของพ่อรับมาเลี้ยง ที่บ้านมีลูกสาวกับลูกชายอย่างละหนึ่ง (แถมมีหมาด้วย) พ่อใหม่เป็นนักเล่นหมากรุก พูดไม่เก่ง มนุษย์สัมพันธ์ไม่ดี (แต่รักลูกนะ) พวกลูกๆ อยากใกล้ชิดก็เลยพยายามเล่นหมากรุกให้เก่งเพราะเป็นกิจกรรมที่พ่อชอบ
แต่พอพระเอกเข้ามาคือมันอัจฉริยะเรื่องนี้ พ่อมันก็เลยพูดด้วยเยอะเพราะชอบในเรื่องเดียวกันมีเรื่องคุยได้ง่าย จนลูกอีก 2 คนอิจฉา พยายามเท่าไรก็ชนะพระเอกไม่ได้ คนโตถึงกับรังแกพระเอก แต่ยิ่งพระเอกพยายามทำดี ช่วยงานบ้าน เอาใจคนอื่นในบ้านก็ถูกหาว่าแย่งความรักพ่อแม่ แม่เองก็พลอยลำบากใจเพราะเห็นลูกตัวเองหมดแรงใจ ความฝันจะเป็นนักหมากรุกแบบพ่อถูกทำลาย ถึงไม่รังเกียจพระเอกก็ไม่อยากใกล้ชิดเพราะกลัวลูกตัวเองเสียใจ ก็เลยทำเป็นเมินๆ พระเอกด้วย
สุดท้ายลูกชายคนเล็กก็หมดอาลัย ทั้งความฝันทั้งความสนใจจากพ่อถูกพรากไป เอาแต่เก็บตัวเล่นเกม ลูกสาวคนโตตอนหลังถูกพ่อบอกว่าให้เลิกเล่นหมากรุกไปหาอย่างอื่นทำ (หวังดีนะ รู้ว่าลูกผีมือธรรมดา เลยอยากให้ไปหาความฝันอย่างอื่น แต่ลูกมันยังเด็ก แถมพ่อพูดไม่เก่ง พอพ่อที่มีหมากรุกเป็นชีวิตจิตใจมาพูดงี้ก็เหมือนถูกตอกหน้าว่ามึงไม่เอาไหน ไม่หวังอะไรกับมึงแล้ว) ก็กลายเป็นสก๊อยกลายๆ ส่วนพระเอกก็อาการเหมือนเป็นโรคซีมเศร้า ถ้าไม่พยายามเล่นหมากรุกก็คิดว่าจะอยู่กับบ้านนี้ไม่ได้ ทั้งยังต้องยึดเป็นอาชีพหาตังค์เพื่อออกจากบ้านเร็วๆ จะได้ไม่ทำร้ายจิตใจคนอื่น แต่ยิ่งพยายามก็ยิ่งทำให้คนรอบตัวเจ็บ ไม่มีทางไหนเป็นที่ของตัวเอง พระเอกพูดว่ารู้สึกเหมือนตัวเองเป็นนกกาเหว่าที่ไปเตะไข่ฆ่าลูกนกของนกพันธ์อื่นทิ้ง แล้วเอาไข่ตัวเองให้นกตัวนั้นเลี้ยงแทน แต่ถ้ากลายเป็นนกจริงๆ ก็ดี จะได้ไม่รู้จักเจ็บปวดเหมือนที่เป็นอยู่
เฟิงเหมียนกับพ่อเลี้ยงพระเอกตราบวันฟ้าใสนี่มาแนวเดียวกันอะ แต่พอดีเว่ยอิงนิสัยร่าเริง มองโลกในแง่ดี พี่หญิงก็โตระดับหนึ่ง นิสัยอ่อนโยน อาเฉิงก็นับว่าเป็นคนใจกว้าง และถึงจะรู้สึกเจ็บกับการเห็นพ่อใส่ใจอีกฝ่ายมากกว่าก็ไม่ได้โบยความผิดให้ (ซึ่งด้วยอายุก็นับว่ามีความคิดเป็นผู้ใหญ่) ความสัมพันธ์มันเลยไม่กลายเป็นแบบอีกเรื่อง ปัญหาของบ้านคนเอเชียนี่มันคือไม่คุยกันดีๆ ให้เข้าใจจนความสัมพันธ์ทลาย ลูกมีหน้าที่ต้องเข้าใจพ่อแม่ว่าที่ทำไปคือหวังดีล้วนๆ แต่พ่อแม่ไม่ค่อยจะยอมเป็นฝ่ายทำความเข้าใจความรู้สึกของลูกกันเท่าไร